ถุงมือยาง ทำมาจากอะไร?
เคยสงสัยกันบ้างมั๊ยครับว่าถุงมือยาง (Rubber Gloves) ที่เราเคยใช้ใส่ทำงานกัน เช่น ตอนทำความสะอาดห้องน้ำบ้าง ใส่ตอนที่ทำแล็ปวิชาเคมีที่โรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยบ้าง หรือที่เคยเห็นคุณหมอและคุณพยาบาลใส่กันตอนตรวจรักษา ตอนที่เราไปโรงพยาบาลบ้าง มันมีที่มาที่ไป ผลิตกันมาจากอะไร และมีกรรมวิธีการผลิตอย่างไร กว่าที่จะกลายมาเป็นถุงมือให้เราได้ใช้งานกันอย่างที่เราเห็นอยู่ในปัจจุบันนี้
ชนิดของถุงมือยาง (Types of Rubber Gloves)
ถุงมือยางที่ได้รับความนิยม และผลิตขายกันอยู่ในตลาดปัจจุบันนี้ สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทหลักๆ ดังนี้คือ
*** ถุงมือที่ผลิตจากไวนิล หรือ พีวีซี PVC (Polyvinyl Chloride), อันนี้จะไม่ขอกล่าวถึงเพราะไม่ถือว่าเป็นกลุ่มของยางสังเคราะห์แต่อย่างใด แต่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มของพลาสติกหรือโพลีเมอร์สังเคราะห์ น่าจะถูกต้องมากกว่า ***
จะเห็นได้ว่าถุงมือยาง ที่มีใช้งานกันอยู่ทั่ว ๆ ไปนั้น เราก็จะพบได้ในทั้งสองประเภทนี้เป็นส่วนใหญ่ โดยเป็นการจำแนกตามวัตถุดิบหลักที่นำมาใช้ในการผลิตเป็นถุงมือให้ได้ใช้งานกัน (ถ้าเราเคยใช้ หรือเคยหยิบถุงยางอนามัยที่ขายกันตามซุปเปอร์มาเก็ตมาลองอ่านดูที่ฉลากข้างกล่อง ก็จะพบว่าถุงยางอนามัยเองก็ผลิตมาจากวัตถุดิบทั้งสองอย่างนี้เช่นเดียวกัน และส่วนใหญ่มากกว่า 90% ก็จะทำมาจากยางธรรมชาตินั่นเอง)
คุณสมบัติ ความเหมาะสมของถุงมือยาง และการนำไปใช้งาน
ต่อไปเราจะลองมาเปรียบเทียบถุงมือยางแต่ละประเภทว่ามีคุณสมบัติเด่นและด้อยต่างกันอย่างไรบ้าง เพื่อให้เราเข้าใจเวลาที่จะเลือกชนิดของถุงมือยาง เพื่อนำไปใช้งานได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และปลอดภัย
ถุงมือยางที่ผลิตจากน้ำยางธรรมชาติ (Natural Rubber Gloves)
บอกได้เลยว่าถุงมือยางชนิดนี้ผลิตมาจากวัสดุจากธรรมชาติ คือยางจากไม้ ต้นยางพารา ที่เรารู้จักกันดีนั่นเอง บางครั้งเราก็เรียกว่า NR, ลาเท็กซ์ หรือยางพารา ซึ่งถุงมือยางที่ผลิตได้จะมีคุณสมบัติดังนี้
ถุงมือยางที่ผลิตจากน้ำยางสังเคราะห์ (Synthetic Rubber Gloves)
เหมือนชื่อเลย นั่นคือเป็นวัสดุที่เกิดมาจากการสังเคราะห์ทางเคมี ไม่ได้เกิดขึ้นมาจากวัสดุตามธรรมชาติ ส่วนใหญ่จะได้มาจากอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ซึ่งยางชนิดนี้จะจัดเป็นโคโพลีเมอร์ชนิดหนึ่ง ที่เกิดขึ้นจากการคิดค้นและผสมตามสูตรเคมีกันของ อะไครโลไนไตรล์ (Acrylonitrile) และ บิวตาไดอีน (Butadiene) จึงได้มีชื่อเรียกกันว่า ยางไนไตรล์, Nitrile Rubber, NBR (Nitrile Butadiene Rubber) ซึ่งถุงมือยางที่ผลิตได้ก็จะทำให้มีคุณสมบัติดังนี้
จะเห็นได้ว่า ถุงมือยางทั้งสองชนิดก็จะมีข้อดี และข้อด้อยที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้นในครั้งต่อ ๆ ไปของการเลือกถุงมือยางสำหรับการใช้งานที่เหมาะสมกับลักษณะงาน เราก็สามารถที่จะเปรียบเทียบคุณสมบัติของถุงมือยางแต่ละชนิดได้ เพื่อการใช้งานได้อย่างถูกต้องและปลอดภัยกับมือของเรา
ตัวอย่างที่เราเห็นกันทั่ว ๆ ไป เช่น ถุงมือสำหรับงานอุตสาหกรรมเกี่ยวข้องกับน้ำมัน และสารเคมีต่าง ๆ ก็จะต้องเลือกใช้ถุงมือที่ผลิตจากยางสังเคราะห์ ส่วนถุงมือแบบใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้งก็ต้องเลือกลักษณะงาน เช่น ถ้าใช้ในห้องทดลองที่มีสารเคมีเข้ามาเกี่ยวข้องก็ต้องเลือกเป็นยางสังเคราะห์ เช่นกัน แต่หากเป็นงานในโรงพยาบาล และงานอาชีวอนามัย งานทั่วไป ก็สามารถใช้ถุงมือยางที่ผลิตจากยางธรรมชาติ ก็เพียงพอและเหมาะสม แต่ต้องผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อที่เหมาะสมตามประเภทของงาน เช่นถุงมือแพทย์ผ่าตัด เป็นต้น
บทความโดย กรมธรรม์ สุวรรณโมลี
บริษัท ซิมมิก อินดัสทรี จำกัด
“เรื่อง Hand Formers เชื่อใจใน Zymmic”
25 พฤศจิกายน 2565
ผู้ชม 3858 ครั้ง