© 2022 บริษัท ซิมมิก อินดัสทรี จำกัด | All Rights Reserved

ZYMMIC INDUSTRY CO.,LTD

ผลิตแม่พิมพ์ถุงมือเซรามิกคุณภาพสูง เพื่อใช้สำหรับการผลิตถุงมือยางทุกประเภท

ZYMMIC INDUSTRY CO.,LTD

ผลิตแม่พิมพ์ถุงมือเซรามิกคุณภาพสูง เพื่อใช้สำหรับการผลิตถุงมือยางทุกประเภท

ZYMMIC INDUSTRY CO.,LTD

ผลิตแม่พิมพ์ถุงมือเซรามิกคุณภาพสูง เพื่อใช้สำหรับผลิตถุงมือยางทุกประเภท

ZYMMIC INDUSTRY CO.,LTD

ผลิตแม่พิมพ์เซรามิกคุณภาพสูง เพื่อใช้สำหรับการผลิตถุงมือยางทุกประเภท

กัมบัตเตะ! (EP5)

หมวดหมู่: NEWS & EVENTS

กัมบัตเตะ!

ผมเป็นคนที่ชอบการเดินทางท่องเที่ยว การไปแคมปิ้ง สังสรรค์กับครอบครัวและเพื่อน ๆ และยังชอบการอ่านหนังสืออีกด้วย รอบนี้เลยมีหนังสือเล่มนึงที่อ่านหน้าปกแล้วรู้สึกสะดุดตา สะกิดใจ แล้วพอยิ่งได้ลองอ่านเนื้อหา ยิ่งรู้สึกได้ว่าเป็นหนังสือที่ประทับใจไม่น้อยเล่มนึงเลยทีเดียว แถมยังอ่านง่ายไม่หนักหัวอีกด้วย เลยอยากจะนำมาแชร์ให้เพื่อน ๆ ได้ลองไปหาอ่านดูกันบ้าง เผื่อจะเป็นประโยชน์ช่วยจุดประกายความคิด หรือในแง่มุมใดมุมหนึ่ง ในการใช้ชิวิตต่อไป

หนังสือที่ว่า มีชื่อเป็นภาษาญี่ปุ่นว่า กัมบัตเตะ! (GANBATTE!) ผู้เขียนชื่อ คุณโนบูโอะ ซูซูกิ แปลโดย คุณเขมลักษณ์ ดีประวัติ โดยใช้ชื่อหนังสือเป็นภาษาไทยว่า “ล้มเจ็ดครั้ง ลุกแปดครั้ง” ของสำนักพิมพ์ในเครืออัมรินทร์

เรื่องราวในหนังสือเป็นการนำเราให้ไปรู้จักกับปรัชญาเก่าแก่ของชาวญี่ปุ่นในการดำเนินชีวิต ที่ส่งต่อกันมารุ่นสู่รุ่น ผ่านคำว่า “กัมบัตเตะ” ที่ไม่ใช่แค่คำให้กำลังใจที่เราคุ้นเคย แต่ยังสามารถที่จะชี้ให้เห็นวิถีชีวิต แนวทางการขัดเกลาจิตใจให้แข็งแกร่ง เพื่อจะก้าวข้ามอุปสรรคต่าง ๆ ที่เป็นบททดสอบในชีวิตของเราที่ผ่านเข้ามามากมาย หนังสือจะแบ่งเป็นตอน ๆ ที่มีการให้แง่คิดแตกต่างกันไป ในแต่ละตอน ๆ   

กัมบัตเตะ! คำนี้แปลว่า “พยายามทำดีที่สุด เท่าที่ตนเองจะทำได้เสมอ”

มันคือปรัชญา! ที่แทรกซึมเข้าไปอยู่ในการใช้ชีวิตประจำวันของคนญี่ปุ่น เราจะได้มาเรียนรู้กันจากการได้อ่านหนังสือเล่มนี้ด้วยกันนะครับ

ผมจะลองยกตัวอย่างมาสักตอนนึงจากหลาย ๆ ตอนในหนังสือ ที่ผมอ่านแล้วรู้สึกชื่นชอบ ตอนที่ว่านั้นคือ

ตอน...กฎกัมบัตเตะ! สิบข้อสำหรับเจ้าของธุรกิจ

ในหนังสือ ผู้แต่งกล่าวไว้ว่า เจ้าของธุรกิจคือผู้คิดริเริ่มและเดินก้าวแรก ในขณะที่คนอื่น ๆ นั้นมัวแต่พูด เจ้าของธุรกิจคือ คนที่ไม่ยอมแพ้เมื่อเจอปัญหา และเดินหน้าต่อไปอย่างไม่ย่อท้อ

ผู้เขียน ยกตัวอย่างในเรื่องการออกกำลังกายก็เช่นเดียวกัน คนที่เฉื่อยชาจะวางแผนสำหรับอนาคต คิดถึงวิธีการดูแลตนเองว่าเริ่มต้นจะเริ่มเปลี่ยนแปลงอาหาร ออกกำลังกาย และเข้ายิม แต่....จะปล่อยให้เป็นเรื่องของวันพรุ่งนี้ ที่ไม่เคยมาถึงสักที ซึ่งตรงกันข้ามกับคนที่มีกรอบความคิดแบบเจ้าของธุรกิจ ที่จะเริ่มต้นทำทันที

หนังสือได้แนะนำกฎกัมบัตเตะสิบข้อ เพื่อเป็นแนวทาง ซึ่งกฎเหล่านี้คือ

1.ลงมือทำ

เลิกครุ่นคิดแล้วลงมือทำ เจ้าของธุรกิจมักชอบทำและคว้าโอกาสใหม่ ๆ จงเป็นผู้ริเริ่ม ทำตอนนี้เลย อย่ารอพรุ่งนี้

2.แม้ไม่มีประสบการณ์เลย ก็จงเริ่มต้น ยังมีเวลาเรียนรู้ขณะลงมือทำ

เจ้าของธุรกิจที่ยิ่งใหญ่มากมายก็ไม่พร้อมมาก่อนเหมือนกันในตอนแรก เวลาเริ่มต้นทำสิ่งใหม่ ๆ ก็เป็นเรื่องธรรมดาถ้าจะไม่รู้อะไรเกี่ยวกับสิ่งนั้นเลย ทุกคนล้วนเริ่มต้นมีก้าวแรกเสมอ

3.การทำผิดคือการเรียนรู้

อย่าท้อใจเมื่อเจออุปสรรค การทำผิดพลาดเป็นเรื่องปกติ จงมองความผิดพลาดในแง่ของประโยชน์ จงสั่งสมประสบการณ์และเรียนรู้จากความผิดพลาดต่าง ๆ และจงเป็นที่คนที่กล้าทำผิดพลาดโดยไม่ยอมถอดใจยอมแพ้

4.จงแน่วแน่ แต่ยืดหยุ่นได้

รู้จักการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ เรียนรู้ และแก้ไขจากความผิดพลาด เพื่อให้ความพากเพียรและแน่วแน่พาเราก้าวไปข้างหน้า

5.ตั้งเป้าหมายที่จะทำให้ดีที่สุด

แม้จะทำสิ่งที่เรียบง่าย หรือเรื่องพื้น ๆ ก็ต้องตั้งเป้าหมายไว้ที่ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ยอดเยี่ยมที่สุด

6.แวดล้อมด้วยคนที่มีวิสัยทัศน์แบบเดียวกัน

ผู้คนที่เดินตามแสงสว่างนำทางแบบเดียวกับเรา มีแนวโน้มที่จะเดินเคียงข้างกันไป เพราะเรามีจุดมุ่งหมายเดียวกัน

7.อย่าหยุดเรียนรู้

อย่าหยุดที่จะเรียนรู้ ไม่ว่าจะประสบความสำเร็จมากแค่ไหนก็ตาม จงเป็นคนช่างสงสัย ช่างสังเกต และเปิดใจกว้างสำหรับแนวความคิด ไอเดียใหม่ ๆ เสมอ

8.อดทนรอคอย

ความสำเร็จ และผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ไม่อาจเกิดขึ้นได้ในชั่วข้ามคืน แต่จะเกิดหลังจากการทุ่มเท พยายาม และทำให้ดีที่สุดเท่าที่เราจะทำได้

9.ให้โลกเห็นโครงการของคุณ

เราต้องแสดงให้เห็นโครงการของเราให้โลกได้รับรู้ เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ มันจะช่วยให้เราสามารถรับฟังความคิด ความเห็น คำติชม จากลูกค้า ซึ่งมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง

10.ฟังหัวใจตัวเอง

จงฟังหัวใจของตนเอง มันคือผลงานสร้างสรรค์ของเรา มันคือสิ่งที่เราทำ ถ้าไม่แน่ใจ หัวใจจะบอกเราเอง (อันนี้เข้าใจยากนิดนึง มีแอบมู)

ในหนังสือเล่มนี้ ยังมีอีกหลาย ๆ ตอนที่จะช่วยสร้างแรงบันดาลใจ และช่วยชี้ให้เราเห็นปรัชญาการดำเนินชีวิต ในหลากหลายแนวทาง สอดคล้องกับแนวคิดและรูปแบบของ กัมบัตเตะ! คือทำให้ดีที่สุด และอย่ายอมแพ้ นอกจากนั้นยังช่วยสนับสนุนแนวคิดที่ว่า บางสิ่งที่อาจจะดูยากลำบากในตอนตอนแรก ๆ ถ้าเราเพียรพยายามนานมากพอ ย่อมจะควบคุมได้ไม่ยาก หรือแม้จะล้มสักกี่ครั้ง ถ้ายังลุกขึ้นได้ในครั้งต่อไป ย่อมสามารถบรรลุเป้าหมายได้ในที่สุด เหมือนกับชื่อหนังสือที่ว่า ล้มเจ็ดครั้ง ลุกแปดครั้ง...กัมบัตเตะ!

ลองไปหาอ่านเพิ่มเติมกันได้นะครับ แนะนำ ๆ !!!

 

บทความโดย กรมธรรม์  สุวรรณโมลี

บริษัท ซิมมิก อินดัสทรี จำกัด

“เรื่องคุณภาพ Hand Formers มั่นใจใน Zymmic”

 

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จากหนังสือ กัมบัตเตะ! “ล้มเจ็ดครั้ง ลุกแปดครั้ง” ผู้เขียน โนบูโอะ ซูซูกิ แปลโดย เขมลักษณ์ ดีประวัติ

24 ธันวาคม 2565

ผู้ชม 699 ครั้ง

Engine by shopup.com